messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ camera_alt ภาพกิจกรรม call ข้อมูลการติดต่อ
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
check_circle ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไป และข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1. เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ มีเนื้อที่โดยประมาณ 50.48 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 30,918 ไร่ 2. จำนวนหมู่บ้าน มีจำนวนหมู่บ้าน 14 หมู่ ได้แก่ หมู่ที่ 1 หนองจันทน์ หมู่ที่ 2 เมืองเก่า หมู่ที่ 3 ท่าค้อเหนือ หมู่ที่ 4 ท่าค้อใต้ หมู่ที่ 5 หนองเซา หมู่ที่ 6 โคกไก่เซา หมู่ที่ 7 ดอนม่วง หมู่ที่ 8 นาหลวง หมู่ที่ 9 บุ่งเวียน หมู่ที่ 10 ดงหมู หมู่ที่ 11 ใหม่แสงอรุณ หมู่ที่ 12 นาหลวง หมู่ที่ 13 หนองจันทน์ หมู่ที่ 14 หนองจันทน์ 3. อาณาเขต - ทิศเหนือ จดเขตพื้นที่ เทศบาลเมืองนครพนม - ทิศใต้ จดเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลขามเฒ่า - ทิศตะวันออก จดแม่น้ำโขง (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) - ทิศตะวันตก จดเขตพื้นที่ เทศบาลตำบลหนองญาติ 4. สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของตำบลท่าค้อ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ มีลักษณะลาดเอียงจากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกของตำบล ลงสู่แม่น้ำโขง พื้นที่ส่วนใหญ่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 160 เมตร 5. สภาพภูมิอากาศ ตำบลท่าค้อ มีสภาพภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ จากสถิติภูมิอากาศของสถานีตรวจอากาศ จังหวัดนครพนม (ปี พ.ศ. 2514-2547) ได้นำมาใช้พิจารณาเป็นตัวแทนลักษณะภูมิอากาศในพื้นที่ตำบลท่าค้อ สรุปได้ดังนี้ (ตารางที่ 2-1 และรูปที่ 2-2) - อุณหภูมิ มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 25.9 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายน เท่ากับ 34.9 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือน ธันวาคม เท่ากับ 15.7 องศาเซลเซียส - ปริมาณน้ำฝน มีปริมาณน้ำฝนรวมตลอดปี 2,229.5 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดในเดือน สิงหาคม เท่ากับ 538.2 มิลลิเมตร ต่ำสุดในเดือน มกราคม เท่ากับ 3.4 มิลลิเมตร - ความชื้นสัมพัทธ์ มีความชื้นสัมพัทธ์ตลอดปี 75.3 เปอร์เซ็นต์ สูงสุดในเดือนสิงหาคม เท่ากับ 88.0 เปอร์เซ็นต์ และต่ำสุดในเดือน มีนาคม เท่ากับ 65.0 เปอร์เซ็นต์ - การวิเคราะห์ช่วงฤดูเพาะปลูกพืช ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกพืช โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำฝนรายเดือนเฉลี่ย และค่าศักยภาพการคายระเหยน้ำของพืชรายเดือนเฉลี่ย (Evapotranspiration : ETo) ซึ่งคำนวณโดยใช้โปรแกรม Cropwat for Windows Version 4.3 มากำหนดจุดกราฟลงบนกระดาษ โดยพิจารณาจากระยะเวลาช่วงที่เส้นน้ำฝนอยู่เหนือเส้น 0.5 ETo เป็นหลัก เพื่อหาช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกพืช ของตำบลท่าค้อ สามารถสรุปได้ดังนี้ 1) ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการเพาะปลูก จะอยู่ในช่วงตั้งแต่กลางเดือนเมษายนถึงกลางเดือนตุลาคม และมีความชื้นหลงเหลืออยู่ในดินพอเพียงสำหรับปลูกพืชไร่ พืชผักอายุสั้นหลังจากหมดฤดูฝนประมาณหนึ่งเดือน และอาจใช้แหล่งน้ำในไร่นาช่วยเสริมการเพาะปลูกได้บ้าง แต่ทั้งนี้ควรวางแผนจัดระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ 2) ช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนและการกระจายน้อยหรือไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืชจะอยู่ในช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนมีนาคมของทุกปี ในช่วงเวลาดังกล่าวถ้าได้รับน้ำชลประทานช่วยก็สามารถปลูกพืชฤดูแล้งได้ 6. สภาพสังคมและการรวมกลุ่มเกษตรกร สภาพสังคมและการรวมกลุ่มของเกษตรกรตำบลท่าค้อ อำเภอเมืองนครพนม ได้จากการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ เอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน (กรมการปกครอง) รายงานข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2551 (กรมการพัฒนาชุมชน) แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล (สำนักงานเกษตรจังหวัด) และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบล (องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครพนม) เป็นต้น ได้ผลการศึกษา ดังนี้ 6.1 สภาพทางสังคม ประชากร หมู่บ้านที่อยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อเต็มทั้งหมู่บ้าน 14 หมู่บ้าน โดยมีสถิติ ข้อมูลประชากร ปี 2557 จำนวน คน การตั้งถิ่นฐาน ชาวบ้านท่าค้อส่วนมากเป็นพวกลาวพรวน หรือศรีโคตรบูรณ์ และบางส่วนอพยพมาจากเขมราช ซึ่งเดินทางมาค้าขายและตั้งบ้านเรือนอยู่ เริ่มตั้งถิ่นฐาน เมื่อ พ.ศ. 240 มีชื่อว่าบ้านห้วยน้ำแจ่วอยู่บนสองฝั่งของห้วยบังกอ การตั้งถิ่นฐานได้รวมเอาบ้านคำพอก เหล่าภูมี และบางส่วนของตำบลขามเฒ่าเป็นตำบลท่าค้อ ชื่อท่าค้อ ชาวบ้านแต่เดิมจะมาตักน้ำ หรือจะมาบ้านท่าค้อต้องนั่งเรือข้ามห้วยบังกอ และขึ้นเรือที่ท่าซึ่งมีต้นค้อใหญ่อยู่หนึ่งต้นอยู่ริมฝั่ง (หน้าวัดโพธิ์ไทรปัจจุบัน) จึงเป็นสัญลักษณ์เรียกแทนชื่อบ้าน และจากบ้านห้วยน้ำแจ่วเดิม ก็เปลี่ยนมาเป็นบ้านท่าค้อทุกวันนี้ ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จึงมีศูนย์รวมจิตใจเป็นวัด และมีขนบธรรมเนียมประเพณี ที่มีอิทธิพลและเกี่ยวข้องต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกร เมื่อมีงานบุญชาวบ้านจะร่วมมือกันเป็นอย่างดี การศึกษา ประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาภาคบังคับ ขณะที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2549) รายงานผลการสำรวจข้อมูลระดับตำบลพบว่า ประชากรส่วนใหญ่หรือร้อยละ 48.22 ของจำนวนประชากรทั้งหมด จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและไม่ได้ศึกษาต่อ รองลงมาร้อยละ 13.74 และ 3.52 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและปริญญาตรีแล้วไม่ได้ศึกษาต่อ ตามลำดับ 6.2 การรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อพัฒนาการเกษตร ตำบลท่าค้อ มีการรวมกลุ่มของเกษตรกร โดยได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากหน่วยงานรัฐ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมการพัฒนาชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น ซึ่งได้แก่ [5] กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 6 กลุ่ม 1. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอนม่วง 2. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเมืองเก่าพัฒนา 3. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโคกไก่เซา 4. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าค้อ 5. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าค้อร่วมใจ 6.กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดงหมู กลุ่มยุวเกษตรกร 4 กลุ่ม 1. กลุ่มยุวเกษตรกรเมืองเก่าพัฒนา 2. กลุ่มยุวเกษตรกรดอนม่วงสามัคคี 3. กลุ่มยุวเกษตรกรนาหลวงสามัคคี 4. กลุ่มยุวเกษตรกรบ้านใหม่แสงอรุณ นอกจากนี้ยังมีวิสาหกิจชุมชนที่จัดตั้งขึ้น เพื่อนำภูมิปัญญาและทรัพยากรที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการผลิตสินค้า บริการหรือการอื่นๆ และเพื่อเชื่อมโยงสินค้าในเครือข่าย เป็นการยกระดับมาตรฐานสินค้าให้สูงขึ้น อีกทั้งสามารถจดสิทธิบัตรและขอการรับรองจากส่วนราชการ เช่น อย. และหน่วยงานมาตรฐานสินค้าอื่นๆ ได้ สามารถจำแนกได้ 1 ประเภท ดังต่อไปนี้ ประเภทการผลิตจักสาน คือ กลุ่มแม่บ้านจักสานบ้านดอนม่วง นอกจากนี้ประชากรยังมีการรวมกลุ่ม เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มาทำสินค้า OTOP ประจำตำบลท่าค้อ ระดับ 3 ดาว ประเภทเครื่องจักสาน บ้านหนองเซา หมู่ที่ 5 ถนนชยางกูร ตำบลท่าค้อ 7 สภาพเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจของตำบลได้จากการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ เอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับหัวข้อ 2.4 ผลการศึกษาเป็นดังนี้ 7.1 การประกอบอาชีพ สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานการสำรวจข้อมูลตำบลพบว่า มีครัวเรือนที่ทำนาเป็นอาชีพหลักลำดับแรก คิดเป็นร้อยละ 51.41 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด โดยมีแรงงานภาคเกษตร เฉลี่ย 3 คนต่อครัวเรือน แรงงานนอกภาคเกษตร เฉลี่ย 2 คนต่อครัวเรือน อาชีพรองลงมาเป็นการรับจ้างและค้าขาย และพบว่ามีจำนวนครัวเรือนที่สมาชิกออกไปทำงานนอกจังหวัด คิดเป็นร้อยละ 12.47 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด และประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป และไม่มีงานทำเพียงร้อยละ 3.51 ของจำนวนประชากรทั้งหมด 7.2 การถือครองที่ดิน สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2549 อ้างถึงใน เขตการใช้ที่ดิน หน้า 2-6) รายงานว่าจำนวนครัวเรือนเกษตรมีอยู่ร้อยละ 68.95 ของครัวเรือนทั้งตำบล มีการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรเฉลี่ย 11.52 ไร่ต่อครัวเรือน เนื้อที่ทำการเกษตรที่อยู่ในเขตชลประทานเพียงประมาณร้อยละ 3.42 ของเนื้อที่ตำบล โดยมีครัวเรือนเกษตรที่ทำกินแบบผสมผสาน หรือจัดการที่ดินตามหลักการทฤษฏีใหม่ 9 ครัวเรือน เนื้อที่รวม 52 ไร่ แผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลรายงานว่า เกษตรกรจะถือครองพื้นที่ดินทำกินเป็นของตนเองเกือบทั้งหมด โดยมีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดินประมาณร้อยละ 90 ที่เหลือเป็น น.ส.3 ก และอื่นๆ ประมาณร้อยละ 10 7.3 การผลิตทางการเกษตร พืช เกษตรกรปลูกพืชทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ระบบการผลิตของเกษตรกร จะเป็นการทำการเกษตรโดยอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ซึ่งพอสรุปได้เป็น 4 ระบบ ดังนี้ ระบบที่ 1 ทำนาเพียงอย่างเดียว ระบบที่ 2 ทำนา เลี้ยงโค-กระบือ ระบบที่ 3 ทำนา ไร่นาสวนผสม ระบบที่ 4 ทำนา ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์โดยใช้ปัจจัยการผลิตและเงินทุนจากบริษัทมอนซานโต้) ข้าวโพดหวานฝักสด หรือมะเขือเทศ หรือยาสูบ หรือพืชผัก นอกจากนี้เกษตรกรยังปลูกไม้ผลพวก มะม่วง ขนุน ส้มโอ ฝรั่ง โดยได้รับการส่งเสริมจากทางราชการ ปศุสัตว์ ตำบลท่าค้อ มีสัตว์เลี้ยงที่สำคัญ ได้แก่ โค–กระบือ นิยมปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ มีการให้วัคซีนป้องกันโรคระบาดทุกปี พันธุ์ที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมือง จำนวนที่เลี้ยงประมาณอย่างละ 3 ตัวต่อครัวเรือน เกษตรกรกำลังดำเนินการรวมกลุ่มและฟื้นฟูอาชีพการเลี้ยงโค–กระบือ ไว้ใช้งานในไร่นา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเมืองนครพนม สถานีพืชอาหารสัตว์ จังหวัดนครพนม และสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์นครพนม กรมปศุสัตว์ นอกจากนี้เกษตรกรจะนิยมเลี้ยงสัตว์ปีก เช่น ไก่พื้นเมือง ไก่ชน และเป็ดเทศ ไว้บริโภคและจำหน่าย เกษตรกรไม่นิยมทำวัคซีนป้องกันโรคระบาดของสัตว์ปีก ทำให้ไก่เป็นโรคระบาดทุกปี ประมง สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2549) รายงานผลการสำรวจข้อมูลของตำบลพบว่า มีจำนวนครัวเรือนที่ทำประมงน้ำจืด และจำนวนครัวเรือนที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เพื่อจำหน่ายเป็นหลัก 98 ครัวเรือน และ 18 ครัวเรือน ตามลำดับ ขณะเดียวกันมีครัวเรือนที่ทำประมงน้ำจืดและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อบริโภค 43 และ 18 ครัวเรือน ตามลำดับ 7.4 ต้นทุนการผลิตและการตลาดทางการเกษตร ข้าว ต้นทุนการผลิต ข้าวไร่ละ 2,090 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงานปลูก และเก็บเกี่ยว ราคาผลผลิตข้าวเหนียวกิโลกรัมละ 5.50 บาท ข้าวเจ้ากิโลกรัมละ 7 บาท เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตที่เหลือจากเก็บไว้บริโภคให้แก่พ่อค้าท้องถิ่นและพ่อค้าเร่ ซึ่งจะรวบรวมไปจำหน่ายให้กับโรงสีในตัวเมือง ข้าวโพดฝักสด ต้นทุนการผลิตไร่ละ 1,738 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงานปลูก ค่าแรงงานเก็บเกี่ยว และค่าเมล็ดพันธุ์ ตามลำดับ ราคาผลผลิตกิโลกรัมละ 6 บาท เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตให้กับพ่อค้าท้องถิ่น และบางรายจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง ยาสูบ ต้นทุนการผลิตไร่ละ 1,600 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าปุ๋ย ราคาผลผลิตกิโลกรัมละ 40 บาท เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตให้กับโรงบ่ม ซึ่งจะส่งต่อไปยังโรงงานยาสูบหรือเอเย่นต์ต่างจังหวัดอีกทีหนึ่ง มะเขือเทศ ต้นทุนการผลิตไร่ละ 700 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าปุ๋ย เกษตรกรจำหน่ายให้กับพ่อค้าในท้องถิ่นซึ่งจะรวบรวมไปจำหน่ายให้กับพ่อค้าปลีก แต่เกษตรกรบางรายจำหน่ายผลผลิตให้กับพ่อค้าเร่ ซึ่งจะนำไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภคต่างจังหวัดอีกทีหนึ่ง 7.5 การอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครพนมรายงานว่า พ.ศ. 2548 มีโรงงานอุตสาหกรรมประเภท 2 และ 3 ตั้งอยู่ในตำบลทั้งสิ้น 18 โรง เงินทุน 134.086 ล้านบาท การจ้างงาน 134 คน จำแนกอุตสาหกรรมตามลักษณะการผลิตได้ 5 ประเภท คือ อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติก อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ และอุตสาหกรรมบริการ ประเภทอุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมก่อสร้างมีจำนวน 8 โรง หรือคิดเป็นร้อยละ 44.44 ของจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมทั้งตำบล ในจำนวนดังกล่าวนี้ เป็นโรงงานดูดทรายและกรวด 4 โรง โรงขุดหรือลอกกรวดและทราย 3 โรง และโรงงานทำคอนกรีตผสมเสร็จ 1 โรง การส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมของรัฐนั้น ควรวางหลักการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีลำดับความสามารถของการจ้างงาน (ไม่รวมผู้บริหารและช่างเทคนิค) ต่อเงินทุน 1 แสนบาทมากกว่าการเพิ่มผลผลิต ในที่นี้พบว่าอุตสาหกรรมการเกษตรมีการจ้างงานสูงสุดกล่าวคือ จ้างงานประมาณ 42 คนต่อเงินทุน 1 แสนบาท ขณะที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2549) รายงานว่าโรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อมในพื้นที่ตำบลนั้น เป็นโรงสีข้าวขนาดเล็กที่สีข้าวได้น้อยกว่าวันละ 5 เกวียน จำนวน 15 โรง และยังมีโรงสีข้าวขนาดกลางที่สีข้าวได้วันละ 5-20 เกวียน อีก 3 โรง สำหรับจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่มีคนทำงานน้อยกว่า 10 คน มีเพียง 2โรง 7.6 รายได้ หนี้สินและแหล่งสินเชื่อ รายได้ แผนพัฒนาการเกษตรรายงานว่า ประชากรของตำบลท่าค้อมีรายได้เฉลี่ย 77,660 บาทต่อครัวเรือนต่อปี หรือเฉลี่ย 17,500 บาทต่อคนต่อปี สำหรับครัวเรือนเกษตรนั้น มีรายได้จากภาคเกษตร 21,660 บาทต่อครัวเรือนต่อปี (ส่วนใหญ่เป็นรายได้จากพืช) และรายได้นอกภาคเกษตร 56,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี รายจ่ายรวม 37,350 บาทต่อครัวเรือนต่อปี เป็นรายจ่ายในภาคเกษตรเฉลี่ย 6,200 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ที่เหลือเป็นรายจ่ายในการครองชีพ ขณะที่ผลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (2549) พบว่า จำนวนครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปีต่ำกว่า 10,000 บาท มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 2.14 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด จำนวนครัวเรือนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปีระหว่าง 10,000-19,999 บาท มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 14.09 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ส่วนครัวเรือนที่มีรายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อเดือนตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.84 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด หนี้สิน เกษตรกรส่วนใหญ่มีหนี้สินทั้งกับสถาบันทางการเงินและบุคคลทั่วไป บางรายกู้ยืมเงินจากกองทุนต่างๆ ในหมู่บ้าน เงินทุนดังกล่าว ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะขาดการจัดการที่ดี แหล่งสินเชื่อ เกษตรใช้บริการสินเชื่อจาก 3 แหล่ง ประกอบด้วยธนาคารเพื่อการเกษตรสหกรณ์การเกษตร และจากแหล่งอื่นๆ (เอกชน/นายทุน) อีกส่วนหนึ่ง 7.7 โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม ตำบลท่าค้อ มีเส้นทางคมนาคม เป็นถนนคอนกรีตและถนนลาดยางปะปนร้อยละ 33 และเป็นถนนลูกรัง ประมาณร้อยละ 67 สำหรับเส้นทางคมนาคมที่สำคัญที่ผ่านในหมู่บ้านของตำบล มีอยู่ 3 สาย ได้แก่ สายที่ 1 จากนครพนมไปอุบลราชธานี คือ ถนนชยางกูรซึ่งจะผ่านหมู่ที่ 1 หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4และ สายที่ 2 จากสะพานท่าค้อเชื่อมถนนชยางกูรกับถนนสายนครพนม อำเภอนาแก ที่บ้านเหล่าภูมี ตำบลหนองญาติ โดยจะผ่านหมู่ที่ 7 หมู่ที่ 8 12 หมู่ที่ 11 และหมู่ที่ 9 สายที่ 3 จากหมู่ที่ 5 ไปเชื่อมกับสายที่ 2 ที่หมู่ที่ 7 ถนนทั้ง 3 สาย ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญของตำบล และของหมู่บ้าน สำหรับใช้สัญจรไปมา และขนถ่ายสินค้าการเกษตรจากหมู่บ้านสู่ตัวเมือง ซึ่งใช้ได้ตลอดฤดูกาล สาธารณูปโภค มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ทั้งสิ้นร้อยละ 94.57 ของจำนวนครัวเรือนทั้งตำบล มีระบบน้ำประปาหมู่บ้านใช้ 4 หมู่บ้าน และระบบประปาภูมิภาค 5 หมู่บ้าน อีก 3 หมู่บ้าน ไม่มีน้ำประปาใช้ จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำอุปโภคและบริโภคจากระบบประปาคิดเป็นร้อยละ 58.82 ของจำนวนครัวเรือนทั้งตำบล อีกร้อยละ 39.04 และ 25.99 จึงยังต้องใช้น้ำจากห้วย/ลำธาร และบ่อบาดาล/บ่อตอก/บ่อเจาะ ตามลำดับ มีโทรศัพท์สาธารณะ 9 แห่ง ด้านการสุขาภิบาล และสุขอนามัยนั้น พบว่า อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 สถานบริการสาธารณะและสถานที่ราชการ โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส 1 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 แห่ง สถานีอนามัย 3 แห่ง วัด/สำนักสงฆ์ 19 แห่ง ศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน 1 แห่ง ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 5 แห่ง สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 2 แห่ง ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล 1 แห่ง และที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง 8. หน่วยธุรกิจในเขต อบต. - โรงแรม 3 แห่ง - ปั๊มน้ำมันและก๊าช 3 แห่ง - โรงงานอุตสาหกรรม 1 แห่ง - โรงสี 25 แห่ง 9. การศึกษา - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 4 แห่ง - โรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง - โรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง - โรงเรียนระดับอาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง 9. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน5แห่ง(บ้านท่าค้อเหนือ ,บ้านเมืองเก่า , บ้านดงหมู ,บ้านนาหลวง ม.12 ,บ้านโคกไก่เซา) 10. สถาบันและองค์กรทางศาสนา - วัด / สำนักสงฆ์ 19 แห่ง แยกได้ดังนี้ หมู่ที่ 1 จำนวน 1 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ - แห่ง หมู่ที่ 2 จำนวน 2 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง หมู่ที่ 3 จำนวน 1 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ - แห่ง หมู่ที่ 4 จำนวน 1 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ - แห่ง หมู่ที่ 5 จำนวน 1 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ - แห่ง หมู่ที่ 6 จำนวน 1 แห่ง วัด - แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง หมู่ที่ 7 จำนวน 2 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง หมู่ที่ 8 จำนวน 2 แห่ง วัด - แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง หมู่ที่ 9 จำนวน 1 แห่ง วัด - แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง หมู่ที่ 10 จำนวน 2 แห่ง วัด 2 แห่ง สำนักสงฆ์ - แห่ง หมู่ที่ 11 จำนวน 1 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ - แห่ง หมู่ที่ 12 จำนวน 1 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ - แห่ง หมู่ที่ 13 จำนวน 2 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ 1 แห่ง หมู่ที่ 14 จำนวน 1 แห่ง วัด 1 แห่ง สำนักสงฆ์ - แห่ง 11.สาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3 แห่ง ประกอบด้วย 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนองจันทน์ 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาหลวง 3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าค้อ 12. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - สถานีตำรวจ - แห่ง - สถานีดับเพลิง - แห่ง -ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) 1 แห่ง -หน่วยกู้ชีพ (EMS) 43 คน -หน่วยกู้ชีพกู้ภัย (OTOS) 33 คน
รายชื่อสถานศึกษา