เว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น กรุณาอ่าน นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
ให้ความยินยอม
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ
อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ
apps
เมนูหลัก
เมนูทั้งหมด
เมนูหลัก (Main)
check_circle
(One Stop Service : OSS)
info
แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2567
image
ประชาสัมพันธ์ต่างๆ
camera_alt
ภาพกิจกรรม
chat_bubble
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
folder
ข่าวประชาสัมพันธ์
folder
ประกาศ
cast
ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง egp
folder_open
เว็บไซต์กรมส่งเสริม
ส่วนราชการ
account_box
คณะผู้บริหาร
account_box
สมาชิกสภา อบต.ท่าค้อ
account_box
หัวหน้าส่วนราชการ
account_box
สำนักปลัด
account_box
กองคลัง
account_box
กองช่าง
account_box
กองการศึกษาฯ
account_box
กองสวัสดิการสังคม
account_box
ตรวจสอบภายใน
ข้อมูลหน่วยงาน
check_circle
ประวัติตำบลท่าค้อ
info_outline
วิสัยทัศน์
check_circle
ข้อมูลหน่วยงาน
check_circle
ประวัติดอนแกวกอง
check_circle
สถานที่ท่องเที่ยว
folder_open
เว็บไซต์กรมส่งเสริม
ข้อมูลข่าวสาร
folder
ประกาศ
chat_bubble
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
folder
รายงานผลการปฏิบัติงาน
folder
งบประมาณรายจ่ายประจำปี
folder
แผนการจัดซื้อจัดจ้างแผนการจัดหาพัสดุ
folder
ข้อมูลข่าวสารกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
today
ส่วนราชการ
account_box
คณะผู้บริหาร
account_box
สมาชิกสภา อบต.ท่าค้อ
account_box
หัวหน้าส่วนราชการ
account_box
สำนักปลัด
account_box
กองคลัง
account_box
กองช่าง
account_box
กองการศึกษาฯ
account_box
กองสวัสดิการสังคม
account_box
ตรวจสอบภายใน
info
ข้อมูลหน่วยงาน
check_circle
ประวัติตำบลท่าค้อ
info_outline
วิสัยทัศน์
check_circle
ข้อมูลหน่วยงาน
check_circle
ประวัติดอนแกวกอง
check_circle
สถานที่ท่องเที่ยว
folder_open
เว็บไซต์กรมส่งเสริม
forum
ข้อมูลข่าวสาร
folder
ประกาศ
chat_bubble
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
folder
รายงานผลการปฏิบัติงาน
folder
งบประมาณรายจ่ายประจำปี
folder
แผนการจัดซื้อจัดจ้างแผนการจัดหาพัสดุ
folder
ข้อมูลข่าวสารกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
camera_alt
ภาพกิจกรรม
call
ข้อมูลการติดต่อ
check_circle
คำแถลงนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น
play_arrow
นโยบายคณะผู้บริหาร
arrow_back_ios
กลับเมนูหลัก
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
check_circle
ประวัติดอนแกวกอง
ประวัติดอนแกวกอง
เกาะแห่งความตาย “ดอนแกวกอง” ฟังแค่ชื่อเรื่องก็น่ากลัวไม่น้อยและคิดว่าคงไม่มีใครอยากเข้าไปสัมผัสหรือเที่ยวชมหรอก อย่างไรก็ตามมันก็เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว ทุกวันนี้สถานที่นั้นยังคงอยู่เป็นหลักฐานยืนยัน หากใครไปสอบถามชาวนครพนมดู พวกเขาจะให้ความกระจ่างเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะเกาะแห่งความตายนี้เป็นดินแดนประวัติศาสตร์ของจังหวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า“ดอนแกวกอง” บางท่านอาจสงสัยและไม่เข้าใจเกี่ยวกับชื่อเกาะประหลาดแห่งนี้ มันเป็นภาษาอะไรกันแน่ ทำไมเรียกยากเหลือเกิน ฟังแล้วก็ไม่เข้าใจความหมาย ในที่นี้จะขอทำความเข้าใจเสียก่อน คำว่า“ดอนแกวกอง” เป็นคำไทยแท้ๆ โดยแยกแปลตามความหมายของคำออกได้ดังนี้ ดอน น. ที่สูงซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับที่ลุ่ม, ที่เขิน, ที่ห่างน้ำ, เนิน, โคก, โขด, เขิน,(ถิ่นอีสาน) เรียกเกาะในแม่น้ำว่า ดอน, แกว น. คนชาติหนึ่งในเขตตังเกี๋ย หรือประเทศเวียตนาม(ญวน)ในปัจจุบัน กอง น. หมู่, พวก, เหล่า, เช่น กองทัพ, ชุมนุมสิ่งที่รวมสุมกันอยู่เช่นนั้น เช่น กองขยะ, กองฟืน รวมความ “ดอนแกวกอง” หมายถึง โคกเนินที่สะสมของพวกญวน ประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับดอนแกวกอง มีบันทึกอยู่ในพงศาวดารเมืองนครพนม ฉบับพระยาจันทร์โง่นคำ มีข้อความดังนี้ “เดิมพระบรมราชาเมืองนครพนม เจ้าเมืองนครพนมมีบุตรชายชื่อว่า ท้าวกู่แก้ว บุตรหญิงชื่อ นางสุวรรณทอง และบุตรเขยชื่อ นายคำสิงห์ (บุตรเพี้ยรามแขก)” ขณะที่ท้าวกู่แก้วมีอายุได้ ๑๕ ปี พระบรมราชาผู้เป็นบิดาส่งไปถวายเป็นมหาดเล็กที่เมืองจำปาศักดิ์ เวลาผ่านไป ๒ ปี พระบรมราชาเจ้าเมืองนครพนมก็ถึงแก่กรรม ทางเวียงจันทน์จึงได้ตั้งนายคำสิงห์ บุตรเขยเป็นพระบรมราชาครองเมืองนครพนมแทน ครั้นข่าวล่วงรู้ไปถึงท้าวกู่แก้วว่า บิดาถึงแก่กรรมและพี่เขยได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองแทน จึงเกิดความไม่พอใจท้าวกู่แก้ว และไปกราบลาเจ้าเมืองจำปาศักดิ์กลับสู่บ้านเกิดเมืองนอน โดยเดินทางเข้ามาในเขตลำเซบั้งไฟ เพื่อเกลี้ยกล่อมเอาท้าวเพี้ย ชาวลำน้ำเซ กะตากกาปอง เมืองวังเชียงรม ผาบัง คำเกิด คำม่วน พากันไปขัดขวางพระละครคำสิงห์(ท้าวคำสิงห์) ท้าวกู่แก้วได้สร้างเมืองขึ้นที่บ้านแก้วเหล็ก ริมห้วยน้ำยมเรียกว่า เมืองมหาชัยกองแก้ว ฝ่ายท้าวคำสิงห์หรือพระละครคำสิงห์ เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ทราบข่าว จึงแจ้งไปขอกำลังจากกรุงศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทน์) แต่ทางเวียงจันทน์ไม่สนับสนุน เพราะเป็นเรื่องของญาติพี่น้อง พระละครคำสิงห์จึงแต่งกรรมการขึ้นเอาพราย ๒ เชือก, นอ ๒ ยอด, เงิน ๔๐ แผ่น, เดินทางไปขอกำลังจากเจ้าพาพูซุนยวน(เมืองญวน) เจ้าพาพูซุนยวนให้กำลังมา ๖,๐๐๐ คน เคลื่อนพลมาต่อสู้กับพวกลำน้ำเซ โดยมีนายไชยเมืองนครพนมได้อำลาเจ้าพาพูซุนยวนเดินทางก่อน เพื่อเตรียมกองกำลังออกไปสมทบตีขนาบกองทัพกู่แก้วมิให้ทันตั้งตัว ในระหว่างเดือน ๑๒ ถึงเดือนอ้าย กองทัพเจ้าพาพูซุนยวนมาถึงเมืองคำเกิด และตั้งทัพอยู่ที่นั่นคอยกองกำลังเมืองนครพนมออกมาสมทบ ข่าวกองทัพเจ้าพาพูซุนยวนล่วงรู้ไปถึงท้าวกู่แก้ว จึงรีบแต่งเอาเครื่องราชบรรณาการ โดยเอาช้างพลายหนึ่ง นอยอดหนึ่ง ไปพบแม่ทัพญวนที่เมืองคำเกิด แอบอ้างเป็นนายไชยเมืองนครพนม ฝ่ายญวนก็หลงเชื่อจึงมาตีเมืองนครพนม ท้าวกู่แก้วได้เกณฑ์ไพร่พลที่เป็นชายฉกรรจ์ได้ ๓,๐๐๐ คน สมทบกับกองกำลังญวนรวมเป็น ๙,๐๐๐ คนยกมาตีเมืองนครพนมแตก พระละครคำสิงห์ข้ามลำน้ำโขงหนีไปอยู่ดงเซกาข้างตะวันตก แล้วแต่งกรมการเมืองไปขอกำลังจากเจ้าเมืองเวียงจันทน์อีกครั้งหนึ่ง เจ้าเมืองเวียงจันทน์เห็นว่า ขืนปล่อยไว้จะเป็นการชักศึกเข้าเมือง จึงได้ให้พระยาเชียงสามาเป็นแม่ทัพมาช่วย โดยตั้งค่ายอยู่ที่บ้านหนองจันทน์ (ใต้เมืองนครพนมปัจจุบัน) อีกค่ายหนึ่งตั้งอยู่ที่บ้านธาตุน้อยศรีบุญเรือง แล้วจัดไพร่พลทั้งสองค่ายกระจายออกเป็นปีกกาโอบเข้าหากัน ฝ่ายทัพญวนที่ตั้งค่ายอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้เอาไม้ไผ่มาจัดทำสะพานเป็นแพลูกบวบ เพื่อจะยกข้ามแม่น้ำโขงมาโจมตีทัพพระยาเชียงสา เมื่อนำไม้ไผ่มามัดเป็นแพลูกบวบ (ไม้ไผ่ที่มัดเป็นแพกลมๆ) ยาวขึ้นไปตามลำแม่น้ำโขง คาดคะเนพอจะไต่ข้ามถึงฝั่งขวาได้ แล้วก็เตรียมทหารลงแพ เมื่อพร้อมแล้วก็ถ่อหัวแพทางเหนือออก ส่วนทางใต้ผูกติดไว้กับฝั่ง พอหัวแพถึงฝั่งขวาแล้วจะใช้สะพานลำเลียงให้ทหารไต่ข้ามโขง ขณะที่ทหารแกวกำลังผลักแพไม้ข้ามโขงอยู่นั้น พระยาเชียงสา แม่ทัพเวียงจันทน์ได้ใช้ปืนใหญ่ยิงตัดสะพานแพลูกบวบขาดเป็นท่อนๆ แล้วยกกำลังพลจำนวน ๑๐,๐๐๐ คนเข้าสู้รบกับพวกแกวกลางลำน้ำโขงถึงขั้นตะลุมบอนกัน ทหารญวนที่เสียเปรียบและมีกำลังน้อยกว่า เลยถูกยิง ฟัน แทง ตายตกน้ำเกลื่อนกลาด ในที่สุดก็แตกพ่าย ศพพวกแกวที่เสียชีวิตในการต่อสู้ครั้งนี้ กองทัพถมเป็นกองพะเนินเลยได้ชื่อเรียกกันตั้งแต่บัดนั้นว่า“ดอนแกวกอง” ฝ่ายพระยาเชียงสา แม่ทัพเวียงจันทน์ หลังจากขับไล่พวกแกวแตกพ่ายไป จึงได้ไกล่เกลี่ยให้ท้าวกู่แก้ว และพระละครคำสิงห์คืนดีกัน โดยเอาครอบครัวพระละครคำสิงห์ขึ้นไปอยู่เวียงจันทน์ให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่บ้านเหวินหวาย อยู่ทางทิศใต้ของเวียงจันทน์ มีกำลังผู้คนชายหญิงน้อยใหญ่รวมทั้งสิ้นจำนวน ๓,๕๐๐ คน พร้อมกับเกลี้ยกล่อมท้าวกู่แก้วมาเป็นพระบรมราชา ครองเมืองนครพนมดังเดิม พระบรมราชา(กู่แก้ว) ได้ย้ายเมืองข้ามโขงมาอยู่ฝั่งขวาตรงปากห้วยบังกอ และมีบุตรชายจำนวน ๘ คน มีนามดังต่อไปนี้ ท้าวอุทธัง, ท้าวพรหมมา, ท้าวศรีวิไช, ท้าวอุ่นเมือง, ท้าวเลาคำ, ท้าวราช, ท้าวแก้วมณีโชติ และท้าวพรหมบุตร ส่วนบุตรหญิงจำนวน ๘ คน มีชื่อเรียกดังนี้ นางแท่นคำ, นางแท่นแก้ว, นางคำเภา, นางมิ่ง, นางต่อม, นางคำพั่ว, นางเยา และนางแมะ พระบรมราชากู่แก้วอยู่ในราชการ ๑๒ ปี ครั้นลุจุลศักราช ๑๑๔๐ ปีจอ ฉอศก เจ้าพระวอเอากำลังกรุงเทพฯขึ้นมาตีเวียงจันทน์แตก พระบรมราชา(กู่แก้ว) จึงพาครอบครัวไปตั้งค่ายกวนหมู่ได้ ๕ เดือนก็ถึงแก่กรรมที่นั่น ท้าวพรหมาผู้เป็นบุตรคนโตได้ครองเมืองแทน และพาครอบครัวบ่าวไพร่ไปสร้างเมืองใหม่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ เริ่มจากบ้านหนองจันทร์ขึ้นไปและให้ชื่อเมืองว่า“นครพนม” มีท้าวพรหมาดำรงตำแหน่งเป็นพระบรมราชาครองเมืองนครพนมเป็นคนแรก ซึ่งเป็นต้นตระกูลของ“พรหมประกาย ณ นครพนม” และ“พรหมสาขา ณ นครพนม” มาจนกระทั่งบัดนี้ ฝ่ายท้าวอุทธังได้เป็นอุปราชและท้าวศรีวิไชเป็นราชวงศ์ เรื่องราวของดอนแกวกองที่กลายเป็นอดีต เหตุการณ์ทำนองเดียวกันได้เกิดขึ้นอีกเป็น ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย กล่าวคือ... ครั้งมหาสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๘ ทหารญี่ปุ่นเข้าครอบครองและปลดอาวุธพวกฝรั่งเศสในพื้นที่อินโดจีน อันประกอบด้วยประเทศลาว เขมร และเวียตนาม (แกว) แต่ให้มีเอกราช พอมากลางปีนั้นญี่ปุ่นถูกปรมาณูถล่มที่เกาะฮิโรชิมา และเมืองนางาซากิ จนญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้แก่ฝ่ายพันธมิตร และยอมยกกองทัพออกจากพื้นที่อินโดจีนกลับไป แต่ลาว เขมร และเวียตนาม ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสของแต่ก่อน จึงเกิดการสู้รบไปทั่วอินโดจีน สมัยที่ญี่ปุ่นครองอินโดจีนอยู่นั้น รัฐบาลลาวได้ขอร้องให้ญี่ปุ่นช่วยส่งคนญวนกลับคืนสู่ประเทศบ้านเกิดของเขา เพราะต่างก็ได้รับเอกราชแล้ว โดยฝ่ายเวียตนามก็เห็นชอบด้วย พากันอพยพคนญวนจากหลวงพระบางและเวียงจันทน์หลายหมื่นคน มารวมไว้ที่เมืองท่าแขก(อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดนครพนม) เพื่อรอเดินทางกลับคืนสู่ประเทศเวียตนาม เพราะมีทางเดินเชื่อมติดต่อไปยังประเทศเวียตนามอยู่ที่เมืองท่าแขก เมื่อญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงครามก็ถอยกลับไป โดยยังมิได้จัดการตามที่ลาวขอร้อง แต่ลาวกับญวนก็ยังทำการสู้รบกับฝรั่งเศสกันอยู่ตลอด ในช่วงนี้ฝรั่งเศสอยู่ตามตำบล หมู่บ้านและป่าดง ส่วนคนลาวและคนญวนจะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น เวียงจันทน์ ท่าแขกและสุวรรณเขต การสู้รบได้ดำเนินอยู่ประมาณ ๑ ปี พอถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ เมื่อท่าแขกก็แตก เพราะฝรั่งเศสได้รุกหนักทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน โดยฝรั่งเศสได้เอาเครื่องบินรบมาทิ้งระเบิดทำลายอย่างหนัก ทหารที่รักษาเมืองท่าแขกเห็นว่าสู้ไม่ไหวแล้ว ก็ปล่อยให้ประชาชนอพยพเข้ามาฝั่งขวา ขณะที่เรืออพยพกำลังลอยอยู่เต็มแม่น้ำโขงนั่นเอง เครื่องบินของฝรั่งเศส ๒ ลำก็บินมาดิ่งหัวลงยิงกราด วกเวียนไปมาอยู่หลายเที่ยว ทำให้เกิดเพลิงไหม้ เรือรั่วจมน้ำมีคนจมน้ำตายนับเป็นจำนวนพันๆคน พวกที่ว่ายน้ำมาถึงฝั่งไทยก็มาก ครั้งนั้นผู้ที่เสียชีวิตศพลอยไปตามกระแสน้ำในลำน้ำโขง ส่วนมากเป็นคนญวนอพยพ น้ำพัดพาไปติดค้างอยู่ที่บริเวณเนินโคกหรือดอนแกวกองอีกเป็นครั้งที่สอง นับเป็นโศกนาฏกรรมน่าประหลาด ที่เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยในสถานที่และชนชาติเดียวกันถึงสองครั้ง ชาวนครพนมที่มีอายุมากได้เผยถึงเหตุการณ์ในอดีตว่า ขณะที่เครื่องบินรบของฝรั่งเศสกำลังบินดิ่งหัวลง ยิงกราดเรืออพยพในลำน้ำโขงอย่างวกเวียนไปมาอยู่นั้น ชาวนครพนมได้พากันไปยืนดูอยู่บริเวณริมฝั่งโขงหน้าเมืองนครพนมด้วยความตื่นเต้นและตกใจ เสียงปืนและปลอกกระสุนได้ปลิวข้ามมาตกยังฝั่งไทย ถูกบ้านเรือนคนไทยเสียหายเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดได้รับอันตราย เจ้าหน้าทางราชการได้นั่งรถยนต์ออกประกาศให้ประชาชนหลบวิถีกระสุนอย่าไปยืนดู เกรงว่าอาจจะเกิดอันตราย แต่ก็ไม่มีใครยอมฟังเสียง พอรถเจ้าหน้าที่ผ่านไปก็พากันออกไปดูอีก ถึงแม้จะเสี่ยงอันตรายก็ยอม ด้วยเหตุการณ์อย่างนี้หาดูยาก ปัจจุบันดอนแกวกองยังเป็นเกาะเล็กๆอยู่ในแม่น้ำโขงค่อนมาทางฝั่งไทย ตั้งอยู่ในเขตท้องที่บ้านหนองจันทร์ ตำบลท่าค้อ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนมลงไปทางทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับเทศบาลเมืองนครพนม ตรงบริเวณหัวดอนแกวกองได้มีหาดทรายงอกยาวขึ้นมาทางทิศเหนือ จนจดท้ายเมืองนครพนมยาวออกไปทางชายฝั่งน้ำโขงโดยตลอด ชาวเมืองนครพนมนิยมเรียกว่าหาดแกวกองบ้าง หาดหนองจันทร์บ้าง เพราะเริ่มต้นมาจากบ้านหนองจันทร์
ท้าวเชียงสา
×
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ